เรื่องอื้อฉาวนมในจีน พ.ศ. 2551

กรณีอื้อฉาวเรื่องนมในจีน พ.ศ. 2551 เป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยด้านอาหารในประเทศจีน ซึ่งนมและนมผงดัดแปลงสำหรับทารก ตลอดจนวัตถุดิบประกอบอาหารและส่วนประกอบอื่น ๆ ได้รับการเจือปนสารเมลามีน

ช่องนมที่ว่างเป็นผลกระทบจากเรื่องอื้อฉาวที่ร้านคาร์ฟูร์ในประเทศจีน

เหตุการณ์ แก้

เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ประเทศจีนได้รายงานว่ามีเหยื่อได้รับผลกระทบอย่างน้อย 300,000 คน[1] และทารก 6 คนเสียชีวิตจากโรคนิ่วในไตและทางเดินปัสสาวะและความเสียหายที่เกิดขึ้นกับไตในทางอื่น ๆ และทารกอีกกว่า 860 คนถูกนำตัวไปรักษาในโรงพยาบาล[2][3] สารเมลามีนดังกล่าวถูกเพิ่มลงไปในนมเพื่อทำให้ดูเหมือนว่านมนั้นมีปริมาณสารอาหารโปรตีนเพิ่มมากขึ้น ในเหตุการณ์ที่คล้ายกันเมื่อ พ.ศ. 2547 ซึ่งนมที่เจือปนส่งผลทำให้มีทารกเสียชีวิต 13 คนจากภาวะขาดสารอาหาร[4]

เรื่องอื้อฉาวดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม หลังจากทารก 16 คนในมณฑลกานซู่ ผู้ซึ่งได้รับการป้อนนมผงซึ่งผลิตโดยซานลู่ กรุ๊ป บริษัทซึ่งตั้งอยู่ในฉือเจียจวง ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคนิ่วในไตและทางเดินปัสสาวะ[5] หลังจากมีการให้ความสนใจแก่ซานลู่ในช่วงแรก ผู้นำการตลาดในภาคงบประมาณ การสืบสวนของรัฐบาลได้เปิดเผยปัญหาที่พบว่าบิรษัทมีระดับการขายต่ำกว่าอีก 21 บริษัท[6]

ปัญหาดังกล่าวได้เพิ่มความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอาหารและการคอร์รัปชั่นในจีนแผ่นดินใหญ่ และทำลายชื่อเสียงของสินค้าอาหารส่งออกของจีน โดยมีอย่างน้อย 11 ประเทศหยุดการนำเข้าผลิตภัณฑ์นมจากจีนทั้งหมด

การฟ้องคดีอาญาหลายคดีได้เกิดขึ้นตามมา โดยมีสองคนถูกตัดสินประหารชีวิต อีกคนหนึ่งได้รับโทษประหารชีวิตแต่รอการลงอาญา อีกสามคนถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต สองคนถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 15 ปี[7] และเจ้าหน้าที่ทางการท้องถิ่นเจ็ดคน เช่นเดียวกับผู้อำนวยการสำนักงานควบคุมคุณภาพตรวจสอบและกักกันโรคถูกไล่ออกหรือถูกบังคับให้ลาออก[8]

องค์การอนามัยโลกระบุว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยอาหารที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่องค์การเคยรับมือในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และเป็นวิกฤตความเชื่อมั่นในหมู่ผู้บริโภคชาวจีนจะเป็นการยากที่จะหมดไป[9]

เมื่อปลายเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 การปนเปื้อนเมลามีนที่คล้ายกันยังได้ถูกพบในไข่และอาจเป็นไปได้ในอาหารอื่น ซึ่งสามารถสืบย้อนไปได้ว่าเมลามีนถูกใส่ลงไปในอาหารสัตว์ แม้ว่าทางการจะสั่งห้ามแล้วเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 หลังจากเกิดเรื่องอื้อฉาวขึ้นในส่วนประกอบอาหารสัตว์เลี้ยงที่ส่งออกไปยังสหรัฐ[10]

จนกระทั่งเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 ทางการจีนยังได้รับรายงานว่ายังมีการยึดของกลางผลิตภัณฑ์นมที่ปนเปื้อนสารเมลามีนอยู่ในบางมณฑล ถึงแม้ว่าจะยังไม่แน่ชัดว่าจะเป็นการปนเปื้อนครั้งใหม่ซึ่งเป็นผลจาการปลอมปนรอบใหม่หรือเป็นผลจากกการนำสารกลับมาใช้ใหม่อย่างผิดกฎหมายจากการปนเปื้อนเมื่อ พ.ศ. 2551[11]

อ้างอิง แก้

  1. Branigan, Tania (2 December 2008). "Chinese figures show fivefold rise in babies sick from contaminated milk". The Guardian. London.
  2. Scott McDonald; และคณะ (Min Lee) (21 September 2008). "Nearly 53,000 Chinese children sick from milk". Pantagraph. Associated Press.
  3. Jane Macartney (22 September 2008). "China baby milk scandal spreads as sick toll rises to 13,000". The Times. London.
  4. "China 'fake milk' scandal deepens". BBC. 22 April 2004. สืบค้นเมื่อ 25 September 2008.
  5. Xinhua, 23 September 2008
  6. "China seizes 22 companies with contaminated baby milk powder". Xinhua News Agency. 16 September 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2012. สืบค้นเมื่อ 2 April 2010.
  7. "Two get death in tainted milk case". China Daily. 23 January 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2013.
  8. "Crisis management helps China's dairy industry recover". Xinhua News Agency. 23 September 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2008. สืบค้นเมื่อ 2 April 2010.
  9. Schlein, Lisa (26 September 2008). "China's Melamine Milk Crisis Creates Crisis of Confidence". Voice of America. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 October 2013.
  10. Wu Jiao (1 November 2008). "Checks on animal feed 'tightened'". China Daily.
  11. Pliny (9 July 2010). "Melamine tainted milk re-emerges in northwest China plant". Xinhua News Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 August 2010. สืบค้นเมื่อ 9 July 2010. It is possible that traders had bought tainted milk that was supposed to be destroyed after the 2008 scandal, planning to process and resell it, said Wang Zhongxi, deputy chief of the quality control bureau in Gansu