กบฏเสนาธิการ หรือ กบฏนายพล หรือ กบฏ 1 ตุลาคม เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 เมื่อนายทหารระดับเสนาธิการของกองทัพ เช่น พลตรี สมบูรณ์ ศรานุชิต และ พลตรี เนตร เขมะโยธิน เป็นหัวหน้าคณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง วางแผนที่จะเข้ายึดอำนาจการปกครอง และปรับปรุงกองทัพจากความเสื่อมโทรม และได้ให้ทหารเล่นการเมืองต่อไป แต่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ทราบแผนการล่วงหน้าและทำการจับกุมผู้คิดก่อการได้

กบฏเสนาธิการ

กองกำลังทหารและตำรวจอยู่ท่ามกลางฝูงชน
วันที่1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 (75 ปีที่แล้ว)
สถานที่
ผล

ชัยชนะของรัฐบาล

  • ฝ่ายกบฏถูกกวาดล้าง
คู่สงคราม
รัฐบาลจอมพลแปลก "ฝ่ายกบฏ"
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
พันเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์
พลตำรวจตรี เผ่า ศรียานนท์
พลตรี สมบูรณ์ ศรานุชิต
พลตรี เนตร เขมะโยธิน

ชนวนเหตุ แก้

การกบฏครั้งนี้ เกิดหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2490 ที่ พลโทผิน ชุณหะวัณ หัวหน้าคณะรัฐประหาร ยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ และได้แต่งตั้ง จอมพลป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ประมาณหนึ่งปี และหลังจากกบฏเสนาธิการไม่ถึงหนึ่งปี ก็เกิดกบฏซ้ำอีกครั้ง คือ กบฏวังหลวง เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 และหลังจากนั้นอีกครั้ง คือ กบฏแมนฮัตตัน เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494. ความพยายามยึดอำนาจจาก จอมพล ป. พิบูลสงคราม ประสบผลสำเร็จในที่สุด ในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหารทำการโค่นล้มรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม[1]

เหตุการณ์ แก้

การก่อการกบฏจะเริ่มขึ้นในเวลา 20.00 น. ซึ่งในขณะนั้นมีงานเลี้ยงสมรสระหว่าง พันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (ยศในขณะนั้น) กับ นางสาววิจิตรา ชลทรัพย์ ที่ทำเนียบรัฐบาล แต่ทว่าฝ่ายรัฐบาลได้ทราบก่อน จึงส่งกองกำลังทหารที่นำโดย พ.อ.สฤษดิ์ และกองกำลังตำรวจที่นำโดย พลตำรวจตรีเผ่า ศรียานนท์ ล้อมกระทรวงกลาโหมไว้ ซึ่งเป็นสถานที่ก่อการและวางแผนของฝ่ายกบฏ ทางฝ่ายกบฏได้ยิงปืนออกมาสู้ แต่ตกอยู่ในฝ่ายเสียเปรียบ จึงยอมจำนน และเจรจากันโดยยอมมอบตัว ซึ่งต่อมามีการจับกุมและส่งฟ้องร้องต่อศาลหลายคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่เคยร่วมรัฐบาลที่มีนายปรีดี พนมยงค์ และ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี นอกเหนือจาก 2 นายทหารที่ได้กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ยังมีนักการเมืองพลเรือน อาทิ นายดิเรก ชัยนาม, นายทวี บุณยเกตุ, นายจำลอง ดาวเรือง, นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์, ดร.ทองเปลว ชลภูมิ เป็นต้น

ต่อมาทางฝ่าย พล.ต.เนตร เขมะโยธิน หนึ่งในคณะกบฏได้มาทำงานร่วมคณะของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยเป็นเลขาธิการทำเนียบนายกรัฐมนตรี และเป็นคนสนิทบุคคลหนึ่งของ จอมพลสฤษดิ์ด้วย[2]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. รัฐประหาร พ.ศ. 2490 เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์รากฐานไทย
  2. นรนิติ เศรษฐบุตร ศ.ดร., 1 ตุลาคม คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย หน้า 8 เดลินิวส์ ฉบับที่ 22,653: วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554 แรม 9 ค่ำ เดือน 11 ปีเถาะ