กบฏอาบูชีรีเป็นชื่อเรียกการจลาจลที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2431 - 2432 โดยชาวอาหรับและชาวสวาฮีลีในพื้นที่ชายฝั่งเยอรมันแอฟริกาตะวันออกซึ่งคัดค้านการมอบดินแดนนี้ให้แก่จักรวรรดิเยอรมันโดยสุลต่านแห่งแซนซิบาร์ในปี พ.ศ. 2431 การจลาจลถูกปราบปรามโดยที่สุดโดยการปิดล้อมชายฝั่งของแองโกล-เยอรมัน

แซนซิบาร์และเยอรมันแอฟริกาตะวันออก, ค.ศ. 1885-90

ความเป็นมา แก้

พ.ศ. 2427 คณะสำรวจแห่งสมาคมการตั้งอาณานิคมแห่งเยอรมัน (Society for German Colonization) นำโดยคาร์ล เพเทอร์ซ (Karl Peters) เดินทางมาถึงแซนซิบาร์และตั้งผู้นำท้องถิ่นบนแผ่นดินใหญ่ฝั่งตรงข้ามซึ่งลงนาม "สัญญาคุ้มครอง (protection contracts)" พื้นที่ใหญ่โตเป็นขององค์กร เมื่อรากฐานมั่นคงเพเทอร์ซได้ตั้งบริษัทเยอรมันแอฟริกาตะวันออกขึ้นเพื่อเข้าถือสิทธิ์ดินแดนที่เพิ่มมากขึ้นในแทนกันยีกาไปถึงภูเขายูรูการู (Uluguru) และภูเขายูซัมบารา (Usambara) มีการประชุมกับฝ่ายต่อต้าน สุลต่านบาร์กาช บิน เซด แห่งแซนซิบาร์ ผู้ยอมโอนอ่อนผ่อนตามโดยไม่เต็มใจ ภายหลังเพเทอร์ซได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการจากกระทรวงการต่างประเทศในเบอร์ลินและกองเรือของกองทัพเรือเยอรมนีภายใต้การนำของพลเรือตรีเอดดูอาร์ด คาโนร์ร (Eduard Knorr) ปรากฏนอกชายฝั่งของแซนซิบาร์ ท้ายที่สุดในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2431 สุลต่านคาริฟฟาห์ บิน เซด แห่งแซนซิบาร์ (Khalifah bin Said) ได้ลงนามในสนธิสัญญายกการบริหารปกครองแผ่นดินใหญ่แทนกันยีกาให้กับบริษัทเยอรมันแอฟริกาตะวันออก

จากเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2431 สมาคมที่พยายามจะยึดครองเมืองชายฝั่งของแทนกันยีกาต้องเผชิญการต่อต้านอย่างรุนแรงจากชนชั้นปกครองชาวอาหรับที่วิตกกังวลเกี่ยวกับการค้าทาสและงาช้าง และชนพื้นเมือง ความพยายามอันโอหังของเอมิล ฟอน เซเลว์ซคี (Emil von Zelewski) เจ้าหน้าที่ปกครองชาวเยอรมันในแพนกานี (Pangani) ที่ชักธงบริษัทขึ้นเหนือเมืองได้จุดการจลาจลขึ้น

การจลาจล แก้

การจลาจลนำโดยชาวไร่ อาบูชีรี อิบน์ ซิลิม อัลฮัร์ษิ (Abushiri ibn Salim al-Harthi) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากชาวอาหรับในพื้นที่และเผ่าสวาฮีลีพื้นเมือง พ่อของอาบูชีรีเป็นอาหรับแม่เป็นชาวโอโรโม[1] การก่อจลาจลกระจายเร็วตามชายฝั่งจากเมืองแทนกา (Tanga) ในตอนเหนือถึงเมืองลินดี (Lindi) และ มิคินดานี (Mikindani) ในตอนใต้ ผู้แทนของบริษัทเยอรมันแอฟริกาตะวันออกถูกขับไล่หรือฆ่าตาย ยกเว้นองค์กรในเมืองบากาโมโย (Bagamoyo) และดาร์อีสซาลาม (Dar es Salaam)

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2431 นายกรัฐมนตรีเยอรมัน ออทโท ฟอน บิสมาร์ค ได้เข้าแทรกแซงและแต่งตั้งร้อยโทเฮอร์มันน์ วิสส์มันน์ (Hermann Wissmann) เป็น Reichskommissar (ข้าหลวง) แห่งเยอรมันแอฟริกาตะวันออก วิสส์มันน์รวมกำลัง Schutztruppe (กองกำลังทหารแอฟริกาในอาณานิคมจักรวรรดิเยอรมัน) ของนายทหารเยอรมันและทหารอัสคารีพื้นเมืองที่ได้รับสนับสนุนโดยกองทัพเรือและอังกฤษตามลำดับเพื่อปราบกบฏ

ภายหลังอาบูชีรีถูกจับได้ในการต่อสู้ที่เมืองมอมบาซา เขาถูกตัดสินประหารชีวิตโดยศาลอาญาศึกให้แขวนคอประจานที่เมืองบังกานี (Pangani) ตามข้อตกลงวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2433 บริษัทแอฟริกาตะวันออกมอบการบริหารการปกครองแทนกันยีกาให้แก่รัฐบาลเยอรมัน พ.ศ. 2434 วิสส์มันน์จึงรายงานกลับไปยังเบอร์ลินว่าปราบกบฏเสร็จสิ้น

อ้างอิง แก้