กฎหมายแซลิก

(เปลี่ยนทางจาก กฎบัตรซาลลิค)

กฎหมายแซลิก (ละติน: Lex Salica; อังกฤษ: Salic law) หรือ ประชุมกฎหมายอนารยชน (อังกฤษ: Code of the Barbaric Laws) เป็นกลุ่มกฎหมายเกี่ยวกับชนชาติแฟรงค์แซเลียน (Salian Franks) เมื่อต้นยุคกลางระหว่างรัชสมัยของพระเจ้าโคลวิสที่ 1 แห่งฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 6 โดยสันนิษฐานกันว่ากฎหมายแซลิกรวบรวมขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 507 ถึงปี ค.ศ. 511[1] บทที่สำคัญที่สุดของกฎหมายแซลิกคือบทที่ว่าด้วยการสืบมรดก โดยห้ามสตรีสืบมรดก โดยเฉพาะ ห้ามครองประเทศหรือแว่นแคว้น จึงมีผู้ใช้ "กฎหมายแซลิก" เป็นคำพ้องความหมายกับ "กฎหมายมรดก" แต่ตามความเป็นจริงแล้วกฎหมายแซลิกยังครอบคลุมไปถึงกฎหมายอื่น ๆ นอกจากกฎหมายมรดก และเป็นรากฐานของกฎหมายต่าง ๆ ในทวีปยุโรปปัจจุบัน

พระเจ้าโคลวิสที่ 1 แห่งฝรั่งเศสทรงแถลงกฎหมายแซลิก ท่ามกลางแม่ทัพนายกองของพระองค์

ทั่วไป แก้

บัญญัติพระเจ้าชาร์เลอมาญมีพื้นฐานมาจากกฎหมายแซลิกและมีอิทธิพลพอ ๆ กับกฎหมายของกรีซ และ โรม กฎหมายแซลิกจึงเป็นรากฐานของกฎหมายที่มีอิทธิพลมาจนถึงสมัยปัจจุบันในยุโรปตอนกลาง โดยเฉพาะในกฎหมายของประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเนเธอร์แลนด์ บางส่วนของประเทศอิตาลีและออสเตรีย และบางส่วนของยุโรปตะวันออก

กฎหมายแซลิกครอบคลุมกฎเกี่ยวกับมรดก, กฎหมายอาญา และการฆาตกรรม กฎหมายระบุว่าค่าเสียหายและค่าปรับต้องจ่ายให้กับผู้เสียหายส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งให้แก่ค่าใช้จ่ายของศาล การตีความหมายในการตัดสินทำโดยลูกขุน กฎหมายแซลิกทำให้มองเห็นถึงภาพลักษณ์ของสังคมของชนแฟรงค์ เช่น กฎหมายแซลิกว่า ผู้ใดที่มิได้เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ผู้นั้นจะได้รับการปกป้องโดยกฎหมาย

อ้างอิง แก้

  1. Fosberry, John trans, Criminal Justice through the Ages, English trans. John Fosberry. Mittalalterliches Kriminalmuseum, Rothenburg ob der Tauber, (1990 Eng. trans. 1993) p.7

ดูเพิ่ม แก้